วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่1

Google Scholar
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 20 พฤศจิกายน 2547 16:16 น. เนเจอร์- “กูเกิล” เปิดตัวระบบเสิร์ชเฉพาะทางฉบับทดลอง สำหรับนักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการที่ต้องการหาบทความ งานวิจัยทางวิชาการชนิดละเอียดยิบ โดยคัดเลือกเฉพาะลิงค์มีคุณภาพ จากแหล่งที่เชื่อถือได้ทางวิชาการ รองรับความต้องการของเหล่าผู้รอบรู้โดยเฉพาะ “กูเกิล” (google.com) เว็บไซต์บริการค้นหาข้อมูล หรือเสิร์ช เอนจิน (search engine) อันดับหนึ่งของโลก ได้เปิดตัว “กูเกิล สกอลาร์” (google scholar) ฉบับทดลอง (เบตา) ออกให้ใช้ฟรี เพื่อช่วยค้นหาบทความ งานวิจัยทางวิชาการทั้งหลายแบบเจาะลึกครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง ผ่านที่อยู่ หรือ ยูอาร์แอล http://scholar.google.com ซึ่งหวังว่านักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการจะสามารถค้นหาข้อมูลเฉพาะทางได้ละเอียดมากยิ่งขึ้นยกตัวอย่างเช่นในการค้นหาวลีอย่าง “ฮิวแมน จีโนม” (human genome) ปกติแล้วกูเกิลธรรมดาจะแสดงผลเว็บที่เกี่ยวกับศูนย์พันธุกรรมต่างๆ ทั่วโลก รวมถึงฐานข้อมูลและเว็บไซต์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรมทั่วโลก ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จะมีประมาณ 450,000 รายการหรือมากกว่านั้น แต่กูเกิลสกอลาร์จะแสดงผลการค้นหาออกมาเพียงแค่ 113,000 รายการ และสิ่งที่พบก็ไม่ใช่เว็บไซต์ แต่เป็นผลงานการวิจัยในการสัมมนาต่างๆ เช่น รายการแรกที่พบเป็นบทความเรื่อง “อินนิเทียล ซีเควนซิง แอนด์ อนาไลซิส ออฟ เดอะ ฮิวแมน จีโนม” (Initial sequencing and anslysis of the human genome) ขณะที่กูเกิลเวอร์ชันปกติก็จะนำลิงค์องค์กรที่เกี่ยวข้องขึ้นมาให้ เป็นต้นเซอร์เกย์ บริน (Sergey Brin) ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์กูเกิล เปิดเผยว่า ข้อมูลที่ค้นพบจะถูกจัดลำดับ โดยเรียงตามความสำคัญของลิงค์ที่มาของเอกสารชิ้นนั้นๆ ซึ่งไม่ได้มุ่งมองที่การค้นหาจำนวนลิงค์มาให้ได้มากที่สุด แต่มองกันที่คุณภาพของลิงค์ที่จะนำมาแสดงผล เช่น ลิงค์จากเว็บไซต์ของวารสารเนเจอร์ (Nature) ซึ่งตีพิมพ์บทความทางวิชาการด้านชีววิทยาชื่อดัง ย่อมจะมีความสำคัญมากกว่าลิงค์จากเว็บส่วนตัวของใครคนใดคนหนึ่งสำหรับเครื่องมือพื้นฐานของเจ้าสกอลาร์นี้มีหลักการคล้ายกับการค้นหาของเว็บกูเกิล ซึ่งเป็นการอ้างอิงข้อมูลที่ปรากฏบนหน้าเว็บไซต์อย่างมีขั้นตอน และเป็นแผนที่จะนำไปใช้ประโยชน์ระหว่างข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกันในหน้าเว็บไซต์ต่างๆ ซึ่งหน้าเว็บนั้นจะถูกเชื่อมต่อโดยพิจารณาจากความสำคัญและจำนวนผู้ใช้สูงสุดในการตอบรับการค้นหาโดยรูปแบบแล้วกูเกิล สกอลาร์จะทำการค้นหาโดยมองลึกลงไปถึงรายละเอียดของเนื้อหาและรูปแบบ เรียกได้ว่าดูทุกๆ หน้าของงานวิจัยชิ้นนั้นว่าเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เราต้องการหรือไม่ ซึ่งแตกต่างจากการค้นหาแบบเก่าที่ปกติจะค้นหาแค่เพียงหัวข้อของงาน หากมีคำหรือวลีที่ตรงกับคำที่ระบุไว้ก็จะดึงมาเป็นลิงค์ ทั้งที่อาจจะไม่ใช่เรื่องนั้นเลย ส่วนฐานข้อมูลในการค้นหาของ “กูเกิล สกอลาร์” ฉบับทดลองนั้นได้ใช้ข้อมูลอ้างอิงจากสำนักพิมพ์ต่างๆ ซึ่งประกอบไปด้วยกลุ่มสำนักพิมพ์ของเนเจอร์ (Nature Publishing Group) สมาคมเครื่องกลและคอมพิวเตอร์ (the Association for Computing Machinery) และสถาบันไฟฟ้า (the Institute of Electrical) รวมถึงวิศวกรไฟฟ้า (Electronics Engineers) ซึ่งรวมอยู่ในระบบค้นหาที่เรียกว่า ครอสเรฟ เซิร์ช (CrossRef Search)นอกจากนี้ เมื่อผู้ใช้กูเกิลสำหรับนักวิจัยได้ค้นหาบทความต่างๆ ทางกูเกิลก็ค้นหาโดยละเอียดตามแหล่งข้อมูลที่กล่าวข้างต้น โดยเปิดให้ผู้ค้นหาได้คลิกกลับไปที่ไซต์เจ้าของบทความนั้นๆ ซึ่งถ้าหากเว็บนั้นๆ กันไว้เป็นบทความเฉพาะสำหรับสมาชิก ก็จะเปิดอ่านได้หากสมัครสมาชิกของเว็บไซต์นั้นๆ ไว้ แต่ถ้าไม่ ก็จะมีเงื่อนไขในการสมัครสมาชิกหรือจะได้อ่านส่วนสรุปของบทความ
ที่มา:http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9470000084855

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น